Course Syllabus   (รายละเอียดหลักสูตร)

Course Description   (คำอธิบายหลักสูตร)

หลักสูตรอุดมศึกษา (วัยใสใจสะอาด “Youngster with Good Heart”) 1 รายวิชา 3 หน่วยกิตนี้ เป็นหนึ่งในชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเยาวชนที่ไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริต สร้างพลเมืองดี รู้จักสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เพื่อพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคไม่ทนต่อการทุจริต

Course Outline   (โครงสร้างรายวิชา)

  • หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ปรับฐานความคิดต้านทุจริตส่วนตนและส่วนรวม
  • หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
  • หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ยกระดับดัชนี สร้างคนดีในสังคม
  • หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ปราบทุจริตด้วยจิตพอเพียง

Instruction Method and Assessment   (วิธีการสอนและการประเมินผล)

สื่อ e-Learning จำนวน 4 เรื่อง ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) นักเรียนแต่ละคนต้องมีบัญชี (Account) ของตนเองในการเข้าสู่ระบบ (Login) เพื่อเข้าเรียนและทำแบบทดสอบ หากได้คะแนนผ่านตามเกณฑ์ร้อยละ 70 จะได้รับใบประกาศนียบัตรจาก ป.ป.ช.

บทเรียนแบบ e-Learning

ทุจริต : ลักษณะ ปัจจัย และผลกระทบ
สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
หลักจริยธรรมและหลักธรรมาภิบาล
จิตพอเพียงพื้นฐานของการต้านทุจริต

จุดประสงค์การเรียนรู้   (Learning Objectives)

เรื่องที่ 1 ทุจริต : ลักษณะ ปัจจัย และผลกระทบ

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. สามารถจำแนกลักษณะของการทุจริตได้
  2. สามารถอธิบายปัจจัยที่ทำให้เกิดการทุจริตได้
  3. สามารถอธิบายผลกระทบจากการทุจริตได้
  • การประเมินผล: แบบทดสอบท้ายบทเรียน
  • เกณฑ์การประเมิน: เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 หรือมากกว่า

เรื่องที่ 2 สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. สามารถอธิบายแนวคิดสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตได้
  2. สามารถอธิบายหลักการของ ป.ป.ช. ภาคประชาชนได้
  • การประเมินผล: แบบทดสอบท้ายบทเรียน
  • เกณฑ์การประเมิน: เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 หรือมากกว่า

เรื่องที่ 3 หลักจริยธรรมและหลักธรรมาภิบาล

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. สามารถแสดงตัวอย่างการนำจริยธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
  2. สามารถอธิบายหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ได้
  • การประเมินผล: แบบทดสอบท้ายบทเรียน
  • เกณฑ์การประเมิน: เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 หรือมากกว่า

เรื่องที่ 4 จิตพอเพียงพื้นฐานของการต้านทุจริต

จุดประสงค์การเรียนรู้

สามารถแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้หลักการของความพอเพียงเพื่อการต้านทุจริตได้

  • การประเมินผล: แบบทดสอบท้ายบทเรียน
  • เกณฑ์การประเมิน: เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 หรือมากกว่า

เรื่องที่ 1 ปรับฐานความคิดต้านทุจริตส่วนตนและส่วนรวม

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้นักศึกษามีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเรื่องการปลูกจิตสำนึก
  2. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะชีวิตด้านการปลูกจิตสำนึกผ่านการศึกษาดูงาน
  • การประเมินผล: ไม่มี
  • เกณฑ์การประเมิน: ไม่มี

เรื่องที่ 2 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาการทุจริตในชุมชนหรือในสถานศึกษา
  2. นักศึกษาสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อจัดทำโครงงาน
  • การประเมินผล: ไม่มี
  • เกณฑ์การประเมิน: ไม่มี

เรื่องที่ 3 ยกระดับดัชนี สร้างพลเมืองดีในสังคม

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ กฎหมาย และการลงโทษ
  2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกแหล่งแจ้งเบาะแสการทุจริตได้
  • การประเมินผล: ไม่มี
  • เกณฑ์การประเมิน: ไม่มี

เรื่องที่ 4 ปราบทุจริตด้วยจิตพอเพียง

จุดประสงค์การเรียนรู้

นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้หลักการของความพอเพียงเพื่อการต้านทุจริต

  • การประเมินผล: ไม่มี
  • เกณฑ์การประเมิน: ไม่มี

สอบเพื่อขอรับใบประกาศนียบัตร

ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ ต้องผ่านการเรียนและสอบออนไลน์ในวิชาดังต่อไปนี้มาแล้ว

  1. ทุจริต: ลักษณะ ปัจจัย และผลกระทบ
  2. สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต
  3. หลักจริยธรรมและหลักธรรมาภิบาล
  4. จิตพอเพียงพื้นฐานของการต้านทุจริต

เมื่อระบบตรวจสอบว่าผู้เรียนผ่านครบตามเงื่อนไขแล้ว จะมีปุ่ม แบบทดสอบก่อนจบหลักสูตร ให้ผู้เรียนเข้าสอบ

การประเมินผล : แบบทดสอบก่อนจบหลักสูตร
เกณฑ์การประเมิน : ร้อยละ 70 หรือมากกว่า

บทเรียนแบบ e-Book

ปรับฐานความคิด ต้านทุจริตส่วนตนและส่วนรวม

สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต

ยกระดับดัชนี สร้างพลเมืองดีในสังคม

ปราบทุจริตด้วยจิตพอเพียง

ร้านหนังสือ   (e-Book Store)

สงวนลิขสิทธิ์ 2565 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ต้องการความช่วยเหลือ ?