Course Syllabus   (รายละเอียดหลักสูตร)

Course Description   (คำอธิบายหลักสูตร)

รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 นี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้สถานศึกษาที่จัดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพิ่มเติมจากหลักสูตรปกติ เพื่อปลูกฝังการเป็นพลเมืองที่ซื่อสัตย์สุจริตให้กับเยาวชน นำไปสู่เป้าหมายการลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของประเทศ

Course Outline   (โครงสร้างรายวิชา)

  • หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
  • หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
  • หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต่อต้านทุจริต
  • หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลเมืองกับการรับผิดชอบของสังคม

Instruction Method and Assessment   (วิธีการสอนและการประเมินผล)

สื่อ e-Learning จำนวน 4 เรื่อง ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) นักเรียนแต่ละคนต้องมีบัญชี (Account) ของตนเองในการเข้าสู่ระบบ (Login) เพื่อเข้าเรียนและทำแบบทดสอบ หากได้คะแนนผ่านตามเกณฑ์ร้อยละ 70 จะได้รับใบประกาศนียบัตรจาก ป.ป.ช.

บทเรียนแบบ e-Learning

การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
ลักษณะความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตในชุมชน
จิตพอเพียงต้านทุจริต
ความเป็นพลเมือง

การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

แผนการจัดการเรียนรู้

ทฤษฎี ความหมายของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interests)


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. บอกความแตกต่างระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมได้
  2. อธิบายความหมายของผลประโยชน์ทับซ้อนได้
  3. อธิบายความสัมพันธ์ของจริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน และทุจริตได้

การประเมินผล

สอบท้ายบทเรียน เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 หรือมากกว่า

ลักษณะความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตในชุมชน

แผนการจัดการเรียนรู้

ลักษณะความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตในชุมชน


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายความหมายและลักษณะของความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตได้
  2. ระบุผลกระทบที่เกิดจากการทุจริตและแนวทางในการแก้ปัญหาการทุจริต (การลงโทษในระดับชุมชน) ได้

การประเมินผล

สอบท้ายบทเรียน เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 หรือมากกว่า

จิตพอเพียงต้านทุจริต

แผนการจัดการเรียนรู้

การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความพอเพียงบนพื้นฐานการไม่ทุจริต


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายความหมายและหลักการของ STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
  2. อธิบายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
  3. อธิบายความเชื่อมโยงของพฤติกรรมในชีวิตประจำวันกับ STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต

การประเมินผล

สอบท้ายบทเรียน เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 หรือมากกว่า

ความเป็นพลเมือง

แผนการจัดการเรียนรู้

ความหมายของพลเมืองศึกษา


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายความหมายและความแตกระหว่างพลเมืองและราษฎรได้
  2. อธิบายสิทธิ (Rights) และความรับผิดชอบ (Responsibility) ของพลเมืองได้

การประเมินผล

สอบท้ายบทเรียน เกณฑ์ผ่านร้อยละ 70 หรือมากกว่า

บทเรียนแบบ e-Book

การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต

พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม

การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
  1. สาเหตุการทุจริตและทิศทางการป้องกันในระดับชุมชน
  2. ทฤษฎี ความหมายของการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม
  3. การแก้ปัญหาการทุจริตในชุมชน
  4. กรณีศึกษาเกี่ยวกับการทุจริต
  5. การวิเคราะห์ ผลประโยชน์ส่วนตนออกจากประโยชน์ส่วนรวม โดยใช้ระบบคิดฐานสองที่ส่งผลกระทบต่อประเทศ
  6. การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างระบบคิดฐานสิบ และระบบคิดฐานสอง
  7. ความตระหนักและความสำคัญของการต่อต้านและป้องกันการทุจริต
  8. ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมและการทุจริต (ในชุมชน สังคม)
    • 8.1 การทุจริตที่เกิดขึ้นภายในชุมชน
    • 8.2 จริยธรรมที่ใช้ในการป้องกันการทุจริตในชุมชน
  9. ประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม (ชุมชน สังคม)
    • 9.1 ความสัมพันธ์ระหว่างการขัดกันของประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมกับการทุจริต
    • 9.2 การแก้ปัญหาการทุจริตที่เกิดจากการไม่แยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
  10. การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม (ชุมชน สังคม)
    • 10.1 ทฤษฎี ความหมายและรูปแบบของการขัดกัน
  11. ผลประโยชน์ทับซ้อน และรูปแบบของผลประโยชน์ทับซ้อน (ชุมชน สังคม)
    • 11.1 สาเหตุการเกิดของผลประโยชน์ทับซ้อนระดับสังคม
    • 11.2 รูปแบบผลประโยชน์ทับซ้อนระดับสังคม
    • 11.3 แนวทางการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนระดับสังคม
ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
  1. ลักษณะความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตในชุมชน
  2. การลงโทษทางสังคมในชุมชน
  3. กรณีตัวอย่างความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตของชุมชน
STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต
  1. การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความพอเพียงบนพื้นฐานการไม่ทุจริต
  2. การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความโปร่งใสบนพื้นฐานการไม่ทุจริต
  3. การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความตื่นรู้บนพื้นฐานการไม่ทุจริต
  4. การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการมุ่งไปข้างหน้าบนพื้นฐานการไม่ทุจริต
  5. การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความความรู้บนพื้นฐานการไม่ทุจริต
  6. การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเอื้ออาทรบนพื้นฐานการไม่ทุจริต
พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม
  1. ความหมายของพลเมืองศึกษา
  2. คุณลักษณะของพลเมือง
    • 2.1 อิสรภาพและการพึ่งพาตนเอง
    • 2.2 ความเท่าเทียมกัน
    • 2.3 การยอมรับความแตกต่างของความเป็นพลเมือง
    • 2.4 เคารพสิทธิผู้อื่น
    • 2.5 การรับผิดชอบต่อสังคม
    • 2.6 ระบอบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
  3. การสร้างสำนึกพลเมืองต่อสังคม

ร้านหนังสือ   (e-Book Store)

สงวนลิขสิทธิ์ 2565 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ต้องการความช่วยเหลือ ?