การต้านทุจริตในสถานการณ์การเปลี่ยนฉับพลันทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) สำหรับ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

  • รหัสหลักสูตร:
    VCN004
  • ระยะเวลาหลักสูตร วัน/ชั่วโมง
    30 วัน
  • ค่าลงทะเบียน:
    ไม่มีค่าลงทะเบียน
  • ภาษา:
    ภาษาไทย

คำอธิบายหลักสูตร

ปัจจุบันโลกเข้าสู่สถานการณ์ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสถานการณ์วิทยาการต่าง ๆ เป็นปัจจัยสาคัญในการดำรงชีวิต ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายขึ้น การประกอบธุรกิจอาศัยข้อมูล ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การบริการลูกค้า และเศรษฐกิจได้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงนี้เองก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Digital Disruption ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่อย่างรุนแรงและรวดเร็ว ทาให้มีผลกระทบมากมาย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดการส่งข้อมูลข่าวสารถึงกันได้ตลอดเวลา เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยให้วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า IoT (Internet of Things) สำหรับประเทศไทยรัฐบาลได้แถลงนโยบาย “Digital Economy” (เศรษฐกิจดิจิทัล) ก่อให้เกิดการปรับโครงสร้างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็น “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ ในรูปแบบ “ดิจิทัลไทยแลนด์” (Digital Thailand) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการปฏิรูปกระบวนทัศน์ในการทำงานในภาคราชการ และภาคธุรกิจอย่างรวดเร็ว

สำหรับกลุ่มประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) นั้น ถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับ Digital Disruption เพื่อให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก และเท่าทันต่อการทุจริตในโลกสถานการณ์ Digital Disruption รวมไปถึงมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตด้วย

รายชื่อวิชา

เรื่อง การต้านทุจริตในสถานการณ์การเปลี่ยนฉับพลันทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Digital Disruption รวมไปถึงสามารถวิเคราะห์ถึงโอกาสและภัยที่เกิดจาก Digital Disruption

2. ทราบถึงวิธีการ เครื่องมือต่าง ๆ ในการสร้างความโปร่งใสและการต่อต้านการทุจริตในสถานการณ์ Digital Disruption และมีความตื่นรู้ในการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตในสถานการณ์ Digital Disruption ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ อย่างถูกต้อง
3. สามารถพัฒนาต้นแบบ (Prototype) เกี่ยวกับนวัตกรรมในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตในสถานการณ์ Digital Disruption

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

การประเมินผล

ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) ผูู้เรียนแต่ละคนต้องมีบัญชี (Account) ของตนเองในการเข้าสู่ระบบ (Login) เพื่อเข้าเรียนและทำแบบทดสอบ หากได้คะแนนผ่านตามเกณฑ์ร้อยละ 70 จะได้รับใบประกาศนียบัตรจาก ป.ป.ช.