ดัชนีการรับรู้การทุจริต Ep.3 : 9 แหล่งข้อมูลการจัดอันดับคะแนน CPI ของประเทศไทย
9 แหล่งข้อมูลการจัดอันดับคะแนน CPI ของประเทศไทย
แหล่งข้อมูลที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI)
ใช้ในการจัดอันดับคะแนน CPI ของประเทศไทย
มีจำนวน 9 แหล่งข้อมูลจาก 13 แหล่งข้อมูล
1 Bertelsmann Stiftung Transformation Index (BF(TI))
ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ในประเด็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์มิชอบและประสิทธิภาพของรัฐบาลในการควบคุมปัญหาการทุจริต
2 Economist Intelligence Unit Country Risk Service (EIU)
ประเมินโดยนักวิเคราะห์ความเสี่ยงจากทั่วโลก ในประเด็นการตรวจสอบการใช้งบประมาณ การใช้อำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐและความเป็นอิสระขององค์กรตรวจสอบ
3 Global Insight Country Risk Ratings (GI)
ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และนักวิเคราะห์ความเสี่ยงในประเด็นความเสี่ยงด้านทางธุรกิจ การติดสินบนเจ้าหน้าที่ และการออกนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจบางธุรกิจ
4 IMD World Competitiveness Center World Competitiveness Yearbook Executive Opinion Survey (IMD)
ประเมินโดยนักธุรกิจทั่วโลก ในประเด็นการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศต่าง ๆ ยังคงมีอยู่หรือไม่
5 Political and Economic Risk Consultancy Asian Intelligence (PERC)
ประเมินโดยนักธุรกิจต่างประเทศ โดยการให้คะแนนปัญหาการคอร์รัปชัน ในประเทศที่กำลังทำงานอยู่ในระดับใด
6 The PRS Group International Country Risk Guide (PRS)
ประเมินโดยนักวิเคราะห์ของ PRS ในประเด็นการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อทุจริต และระบบอุปถัมป์ระหว่าง ภาคการเมืองและภาคธุรกิจ
7 World Economic Forum Executive Opinion Survey (WEF)
ประเมินโดยนักธุรกิจในประเทศในประเด็นการจ่ายสินบนในการดำเนินธุรกิจ มีมากน้อยเพียงใด
8 World Justice Project Rule of Law Index Expert Survey (WJP)
ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ในประเด็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ
9 Varieties of Democracy (V-Dem)
ประเมินโดยนักวิชาการ นักธุรกิจ นักวิเคราะห์ทั่วโลกในประเด็นการทุจริตของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ เกี่ยวกับสินบนและการขัดกัน แห่งผลประโยชน์
#cpi#corruptionperceptionindex#cpi2023#acm#VirtualMuseum#AntiCorruptionMuseum#ต้านโกง#พิพิธภัณฑ์ต้านโกง#ACM